วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา : IBRD

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา

(The International Bank for Reconstruction and Development :IBRD)


ธนาคารโลก (World Bank) หรือ ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for Reconstruction and Development, IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศมหาอำนาจในอเมริกาเหนือและยุโรป มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ(United Nation) สำนักงานใหญ่ตั้ง ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกประมาณ 154 ประเทศ เงินทุนขอธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก


วัตถุประสงค์ การดำเนินงานของธนาคารโลก มีดังนี้


1.) เพื่อฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยการให้กู้ยืมเงินระยะยาวในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนต่างๆ


2.) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนธนาคารโลกจะช่วยเหลือส่งเสริมโดยเป็นผู้ค้ำประกันการลงทุน หรือร่วมกับองค์กรอื่น ในการกู้ยืมของเอกชน


3.) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง



หลักการพิจารณาเงินกู้แก่ประเทศสมาชิก


ก่อนที่จะให้เงินกู้ธนาคารโลกจะศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทสสมาชิกเสียก่อนเพื่อพิจารณาโครงการที่มีความสำคัญอันดับสูง หากประเทศสมาชิกมีปัญหาในการจัดหาและเตรียมโครงการที่เหมาะสมธนาคารจะส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลือ โดยจะส่งผู้แทนออกไปสำรวจและวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ หลังจากมีการเสนอโครงการอย่งเป็นทางการและธนาคารโลกได้พิจารณารายละเอียดทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และ การเงิน ธนาคารโลกอาจมีการปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริหารงานเพิ่มหรือลดขนาดของโครงการให้เหมาะสม


ประวัติการก่อตั้ง


จากการประชุมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ที่เบร็ตตันวูดส์
รัฐนิวแฮมเซียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการร่างกฎบัตรขึ้นมาสองฉบับเพื่อจัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) (ธนาคารโลก) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) โดยทั้งสองสถาบันมีการแบ่งความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน กองทุน IMF จะให้การสนับสนุนทางการเงินระยะสั้น เพื่อช่วยประเทศต่าง ๆ แก้ปัญหาดุลการชำระเงินในขณะที่ธนาคารโลกจะให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาระยะกลางและระยะยาวในรูปแบบเงินกู้ยืม โครงการพัฒนาที่เน้นเฉพาะเป็นโครงการไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปความแตกต่างนี้ก็ลดน้อยลงไปช่วงที่โลกเกิดวิกฤตการณ์การเงินในช่วงปีพ.ศ. 2513 และ 2523 ธนาคารโลกก็เริ่มปล่อยเงินกู้ระยะสั้น เพื่อการปรับปรุงเชิงโครงสร้างประสานกับกองทุนด้วยเช่นกัน
องค์กรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การสหประชาชาติ ผ่านทาง
สภาเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council-ECOSOC) ในฐานะหน่วยงานชำนาญการพิเศษ แต่การตัดสินใจในเรื่องการให้เงินกู้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของธนาคารโลกเท่านั้น ธนาคารโลกทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติหลายหน่วยงาน เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP)


ที่ตั้ง


1. สำนักใหญ่ 1818 H Street N.W. Washington, D.C. 20433, U.S.A.
2. สำนักงานใหญ่สาขานิวยอร์ก 1 Dag Hammarskjold Plaza 885 2nd Avenue, 26th Floor New York, N.Y. 10017, U.S.A.
3. สำนักงานใหญ่สาขาปารีส 66 avenue d’Iéna 75116 Paris, France
4.
สำนักงานสาขาประเทศไทย ชั้น 30 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น