ประวัติ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
1. ภูมิหลังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือ ที่รู้จักดีในนามของ Bretton Woods Conference โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และและมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดให้กองทุนการเงินฯ ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน
2. บทบาทหลักกองทุนการเงินฯ มีบทบาทหลักในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ
การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ: กองทุนการเงินฯ ติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมหารือกับประเทศสมาชิกเป็นประจำ(หรือ Article IV Consultation) ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดจัดประชุมทุกปี โดยเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ จะไปเยือนประเทศสมาชิกเพื่อประเมินภาวะและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก รวมทั้งให้คำแนะนำนโยบาย ทั้งนี้ กองทุนการเงินฯ จะรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อนำมาประเมินภาวะเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยจะเผยแพร่ผลการประเมิน ทุกครึ่งปีในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) และรายงานเสถียรภาพการเงินโลก (Global Financial Stability Report)
ความช่วยเหลือทางการเงิน: กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินเพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการเงินกู้ (facilities) ประเภทต่างๆ ซึ่งประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินตามที่กำหนดในจดหมายแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เงินทุนของโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินฯ ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ดังนั้น ความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินฯ จึงกำหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินฯ สามารถกู้ยืมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจำนวนหนึ่งภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ (General Arrangements to Borrow - GAB) และความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow - NAB)
ความช่วยเหลือทางวิชาการ: กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกในการกำหนดและดำเนินนโยบาย 4 ด้านหลัก คือ
1.) นโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงิน
2.) นโยบายการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ
3.) สถิติข้อมูล
4.) กฎหมายเศรษฐกิจการเงิน
นอกจากนี้ กองทุนการเงินฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาสำหรับประเทศสมาชิกที่สถาบันฝึกอบรมของกองทุนการเงินฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และสถาบันฝึกอบรมในภูมิภาคต่างๆ (ออสเตรเลีย บราซิล สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย สิงคโปร์ ตูนิเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต)
3. โครงสร้างองค์กร
สภาผู้ว่าการกองทุนการเงินฯ ประกอบด้วยผู้ว่าการจากแต่ละประเทศสมาชิก จะประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้งระหว่างการประชุมประจำปีกองทุนการเงินฯ และธนาคารโลกเพื่อหารือและตัดสินใจนโยบายสำคัญของกองทุนการเงินฯ นอกจากนี้ ยังมี International Monetary and Financial Committee (IMFC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 24 ท่านตามองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ โดย IMFC ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสภาผู้ว่าการ ซึ่งจะพิจารณาและจัดทำข้อเสนอสำหรับประเด็นนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลระบบการเงินโลก สำหรับคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ จะดูแลการดำเนินกิจการทั่วไปของกองทุนการเงินฯ ตามข้อเสนอของ IMFC ทั้งนี้ กรรมการจัดการกองทุนการเงินฯ จะทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารสูงสุดของเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ
สมาชิกภาพ: จำนวนประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินฯ ได้เพิ่มจาก 29 ประเทศเมื่อปี 2488 เป็น 185 ประเทศในปัจจุบัน โดยประเทศสมาชิกล่าสุดคือ ประเทศมอนตินิโกร (Montenegro) ซึ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ทั้งนี้ ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติก่อน
โควตา: เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ ประเทศสมาชิกจะได้รับจัดสรรจำนวนโควตาในสกุลสิทธิพิเศษถอนเงิน1/ (SDR) ตามขนาดของเศรษฐกิจและความสำคัญของประเทศสมาชิกนั้นๆ เทียบกับเศรษฐกิจโลก ตามปกติกองทุนการเงินฯ จะทำการทบทวนโควตาทุก 5 ปี เพื่อปรับปรุงโควตาของแต่ละประเทศให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อเพิ่มทุนดำเนินการของกองทุนการเงินฯ ให้พอเพียงกับความจำเป็น
โควตามีบทบาทสำคัญในการกำหนดสิทธิ และวงเงินกู้ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ประเทศสมาชิกจะได้รับคะแนนเสียงพื้นฐานเท่ากันจำนวน 250 คะแนน และเพิ่มอีกหนึ่งคะแนนเสียงต่อโควตา 100,000 SDR นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกสามารถกู้เงินจากกองทุนการเงินฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของจำนวนโควตาต่อปี และรวมกันไม่เกินร้อยละ 300 ของจำนวนโควตา
4. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 ของกองทุนการเงินฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตามพ.ร.บ. ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494 รวมทั้งผู้ว่าการและรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรองในกองทุนการเงินฯ ตามลำดับ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโควตาเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR หรือร้อยละ 0.50 ของจำนวนโควตาทั้งหมด เทียบเท่ากับ 11,069 คะแนนเสียง กองทุนการเงินฯ จะประเมินภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นประจำทุกปีภายใต้พันธะข้อ 4 ของข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินฯ นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการตามพันธะข้อ 8 ของข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินฯ โดยยกเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการค้า แล้วตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2533 ล่าสุด ประเทศไทยได้เข้าร่วมรับการประเมินเสถียรภาพภาคการเงินภายใต้กรอบ Financial Sector Assessment Program2/ (FSAP) เมื่อปี 2550 ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินฯ ภายใต้โครงการเงินกู้ Stand-by3/ รวม 5 ครั้งในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR ครั้งที่สองเมื่อเดือนมิถุนายน 2524 จำนวน 814.5 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 345 ล้าน SDR) ครั้งที่สามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 จำนวน 271.5 ล้าน SDR
ครั้งที่สี่เมื่อเดือนมิถุนายน 2528 จำนวน 400 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 260 ล้าน SDR) และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 จำนวน 2,900 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 2,500 ล้าน SDR) ประเทศไทยได้ชำระคืนเงินกู้จากกองทุนการเงินฯ เสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดเดิมถึง 2 ปีทำให้ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีภาระคงค้างกับกองทุนการเงินฯ อนึ่ง ปัจจุบัน ประเทศไทยยังได้ร่วมเป็นภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow - NAB) โดยอาจให้กองทุนการเงินฯ กู้ยืมเงินไม่เกิน 340 ล้าน SDR ในกรณีที่กองทุนการเงินฯ ขาดสภาพคล่อง
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์และหน้าที่วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง IMF คือ จัดการและควบคุมระบบการเงินของโลกและช่วยเหลือประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยจะประสานการทำงานกับกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ หน้าที่หลักของ IMF มีอยู่ 3 ประการคือ
1.จัดระบบการเงินโลก
2. กำกับกติการทางเศรษฐกิจของโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคงมีเสถียรภาพ
3. สร้างเงินซึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่เป็นกลาง ไม่ได้เป็นเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง
และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) ก่อตั้งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2487-2489 เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้สำหรับการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาประเทศต่าง ๆ ภายหลัง ประสบปัญหามากมายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันมุ่งให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่ยากจน เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยสถาบันทั้งสองจัดให้มีการประชุมระหว่างสมาชิกปีละครั้ง ซึ่งกำหนดให้จัดที่กรุงวอชิงตันติดต่อกัน 2 ปีสลับกับจัดประชุมในประเทศสมาชิก 1 ปี
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
เมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 48 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลกและกองทุนเงินระหว่างประเทศเป็นครั้งคราว เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมในส่วนต่างๆ เช่น การเกษตร การชลประทาน การศึกษา การสาธารณสุข และอื่น ๆ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ
ในการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศนั้นก็เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของการค้าโลก และป้องกันมิให้มีการลดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้า รวมไปถึงมุ่งจัดตั้ระบบการชำระเงินที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ โดยสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศประกอบไปด้วยประเทศที่มีความสำคัญทางการเงินเป็นผู้แทนถาวร 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และผู้แทนประเทศสมาชิกอื่นๆอีก 15 ประเทศ ซึ่งประเทศสมาชิกเหล่านี้ต้องชำระเงินอุดหนุนหรือเงินค่าโควตาในรูปของหุ้นจำนวนหนึ่งให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเงินส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหรือทรัพยากร(resources)ของ IMFที่นำไปใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหาดุลการชำระเงินภายใต้โครงการเงินกู้ (facility)
หลักการทั่วไปและวัตถุประสงค์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีดังต่อไปนี้คือ
1.รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพและความแน่นอน รวมทั้ง ป้องกันการแข่งขันการลดค่าเงิน(competitive devaluation)เพื่อชิงการได้เปรียบทางการค้า
2.ลดหรือขจัดอุปสรรดทั้งปวงเพื่อการแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเสรี
3.สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศและเป็นเวทีการหารือและร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ
4.สนับสนุนให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ่างงาน รายได้ ตลอดจนพัฒนาการทางการผลิตในระดับสูง
5.ลดความไม่สมดุลในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก โดยให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกเพื่อปรับฐานะดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น
เมื่อพิจารณาหลักการและวัตถุประสงค์ของ IMFจึงเห็นได้ว่า IMFมีบทบาทต่อกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในฐานะองค์การที่วางกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางการเงินและทำหน้าที่จัดการระบบเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งเงินนั้นถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการทำธุรกรรมโดยเป็นเครื่องมือสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ทางการค้าระหว่างกัน แม้ศาลสถิตย์ยุติธรรมระหว่างประเทศ จะได้ให้หลักการยืนยันไว้ในคำพิพากษาคดีPayment of various Serbian loans ว่ารัฐย่อมมีอธิปไตยในการดำเนินนโยบายด้านการเงินของตนเอง สามารถกำหนดค่าของสกุลเงินของตนตลอดจนการวางข้อบังคับเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเงินตรา ซึ่งถือเป็นอำนาจอธิปไตยทางการเงินและกิจการภายในของรัฐ แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่ามีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแลกเเปลี่ยนสินค้าและบริการกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นในการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าย่อมต้องอาศัยกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างคู่สัญญา และในระบบเงินตราย่อมต้องมีการกำหนดสกุลเงินเพื่อเป็นเงินตราสกุลหลักในการอ้างอิงเพื่อการทำการค้าระหว่างกัน ไม่เช่นนั้นย่อมมีปัญหาในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในการทำการค้านั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า เช่น อาจถูกตั้งข้อจำกัดทางการค้าและการชำระเงิน IMFจึงเป็นองด์การระหว่างประเทศที่เข้ามาช่วยกำหนดกฎเกณฑ์ทางการเงิน ให้ความช่วยเหลือและปรับดุลยภาพทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐสมาชิก
การดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐสมาชิกที่ตกอยู่ในสภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากการขาดดุลการชำระเงินนั้น IMFเป็นแหล่งที่มาในการให้เงินช่วยเหลือ โดย IMFได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกฝากสินทรัพย์ไว้จำนวนหนึ่งซึ่งจะเป็นจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับโควตาที่ตกลงกันและเมื่อรัฐสมาชิกประสบปัญหารัฐสมาชิกก็สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนของIMFนั่นเอง การให้ความช่วยเหลือของIMFนั้นรัฐสมาชิกมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือโดยผ่านกระบวนการ การถอนเงินซึ่งจำกัดอยู่ภายในวงเงินที่ตนมีสิทธิตามสัดส่วนของเงินอุดหนุน และการทำข้อตกลงใน
เรื่องเกี่ยวกับการถอนเงิน ( Stand-by arranment )หรือที่เรียกว่าโครงการเงินกู้ Stand-by ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ที่มีเงื่อนไขของโครงการในการปฏิบัติตาม performance criteria
ระบบที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งIMFจัดตั้งขึ้นก็คือระบบสิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Rights) หรือ SDR SDRนี้เป็นสินเชื่ออย่างหนึ่งโดยมีลักษณะเป็นหน่วยในทางบัญชี คือมีแค่ตัวเลขปรากฎอยู่ในบัญชี สิทธิพิเศษในการถอนเงิน SDRนี้ IMF กำหนดวิธีการในการใช้ที่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเงินอุดหนุนที่รัฐส่งมา กล่าวคือหากรัฐส่งเงินอุดหนุนมากก็จะได้รับจัดสรรสิทธิถอนเงินพิเศษนี้มาก ทั้งนี้เพื่อให้รัฐนำเงินที่ได้รับจัดสรรมาใช้แก้ไขสถานการณ์การขาดดุลการชำระเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศกับประเทศไทยนั้นประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกเคยได้รับความช่วยเหลือตามโครงการเงินกู้Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431ล้านSDR ในปัจจุบันประเทศไทยมีโควตาเท่ากับ 1,081.9 ล้านSDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น
การเข้ามาเป็นสมาชิก IMF ของประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นสมาชิก IMF เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 44 โดยมีโควตาปัจจุบันเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น นับตั้งแต่เป็นสมาชิก IMF ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ Stand-by 1 ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR 2-4 ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR 5 ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDRตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ ด้วยกำลังทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ลดลงอย่างมาก และเปลี่ยนแนวมาเป็นการรุกโดยอาศัยแนวทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แม้ในช่วงแรกจะแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งเรียกว่าฝ่ายโลกเสรีหรือฝ่ายทุนนิยม โดยมีสัมพันธภาพกับประเทศต่างๆ จำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ประเทศแถบลาตินอเมริกา แถบตะวันออกกลาง รวมถึงในแถบเอเซีย ยกเว้นประเทศเวียดนาม พม่า และอีกฝ่ายหนึ่งคือ สหภาพโซเวียต ซึ่งเรียกว่าฝ่ายสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ โดยประกอบด้วยประเทศที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมเหมือนกัน เช่น ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก คือ เยอรมันตะวันออก เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย โปแลนด์ ฯลฯ ประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาบางประเทศ เช่น คิวบา และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้แข่งขันกันสะสมอาวุธต่างๆ โดยเฉพาะระเบิดนิวเคลียร์ จึงเรียกบรรยากาศในยุคนี้ว่า “สงครามเย็น” ประเทศในกลุ่มโลกเสรีหรือทุนนิยมแตกต่างจากกลุ่มสังคมนิยม คือเอกชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทำให้เกิดการแข่งขันในการผลิตและสะสมทุน ผลทำให้การพัฒนาประเทศในกลุ่มทุนนิยมเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มสังคมนิยมแล้วจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในฝ่ายทุนนิยม และมีสัมพันธภาพอันดีกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มทุนนิยมเช่นเดียวกัน ประเทศไทยได้วางแผนการพัฒนาประเทศโดยเน้นให้ความสำคัญในด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงจำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยี เครื่องจักร รวมทั้งวัตถุดิบ ซึ่งต้องใช้ทุนเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันการสะสมเงินออมในประเทศมีไม่เพียงพอต่อการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๓๘ ก็พัฒนาได้ค่อนข้างจะต่อเนื่อง แต่การกระจายรายได้อย่างไม่เสมอภาคก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น ซึ่งแม้กระนั้นประเทศไทยก็ยังยึดแนวทางในระบบทุนนิยมอย่างต่อเนื่องตลอดมา สำหรับการพัฒนาก็โดยอาศัยทุนจากต่างประเทศ และนำเข้าเทคโนโลยีต่างๆ การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูง การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็เติบโตในอัตราสูงเช่นกัน จนทำให้ไทยได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) และเป็นเสือตัวที่ ๕ ของเอเชีย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๔ รัฐบาลได้พยายามเปิดเสรีทางการค้า ชักชวนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โดยมีการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ และการเปิดให้มีสัมปทานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ส่งผลให้มีเงินไหลเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ต่อมารัฐบาลก็ได้พยายามที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จึงได้มีมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนทางการเงินในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีผลทำให้กระแสเงินตราต่างประเทศไหลเข้าออกในปริมาณที่มากขึ้น และผลักดันให้ระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยมีมาตรฐานสากล โดยให้ธนาคารดำรงเงินกองทุนตามมาตรฐาน BIS (Bank for International Settlemtents) และในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลก็ได้ออกประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการวิเทศธนกิจ BIBFs (Bangkok International Banking Facilities)